搜尋任何 X
Childline Thailand Foundation

Childline Thailand Foundation

@saidek1387

☎️ 1️⃣3️⃣8️⃣7️⃣ โทรฟรี 2️⃣4️⃣ ชั่วโมงรับฟังทุกปัญหาและพร้อมให้คำปรึกษาเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ด้วยใจ 24 ชั่วโมง

พูดถึงเพศศึกษา ไม่ต้องคิดเลยค่ะว่าจะเข้าใจยากรึเปล่านะ ไกลตัวไปรึเปล่านะ เพราะมันเริ่มจากสิ่งใกล้ตัวม้ากมาก นั่นก็คืออวัยวะเพศที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิดนั่นเอง (อ้อ พี่สายเด็กขอแนะนำคุณผู้ปกครองอย่างนึง ถึงแม้การพูดเรื่องเพศกับเด็ก ๆ จะน่ากระอักกระอ่วนไปสักนิด แต่ยังไงก็ไม่อยากให้เลี่ยงไปใช้คำยาก ๆ เพื่อลดความกระดากอายนะคะ ถ้าคำว่าอวัยวะเพศดูไกลตัว ดูเป็นวิทยาศาสตร์เกิน น้อง ๆ อาจรู้สึกเข้าใจยาก ก็ให้ใช้คำเรียกที่แต่ละบ้านคุ้นชินไปเลยค่ะ จะจู๋ จิ๋ม จิมิ หนอนน้อย หรืออะไรก็ตามแต่ แต่ต้องใช้คำนั้น ๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาน้า ไม่งั้นน้อง ๆ อาจจะงงได้ค่ะ ส่วนพี่สายเด็กขออนุญาตใช้คำว่าจู๋กับจิ๋มเนอะ).เด็กบางคนมีจู๋ เด็กบางคนมีจิ๋ม (และเด็กบางคนก็มีทั้งจู๋ทั้งจิ๋ม หรือไม่มีเลยก็มี โลกนี้ช่างหลากหลายนัก) และตั้งแต่ทุกคนยังเป็นทารกน้อย จู๋กับจิ๋มก็มีไว้ขับถ่ายของเสีย (ฉี่) ใช่ไหมล่ะคะ แต่หน้าที่ของมันจริง ๆ แล้วคือมีไว้สืบพันธุ์ค่ะ เพราะฉะนั้นเมื่อน้อง ๆ เริ่มเป็นวัยรุ่น ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากเด็กไปเป็นผู้ใหญ่ ร่างกายก็จะส่งสัญญาณว่า “เฮ้ พวกเรากำลังเปลี่ยนไป เพื่อที่จะได้สร้างเบบี๋ได้ไงล่ะ” ระบบสืบพันธุ์ในร่างกายก็จะเริ่มทำงานค่ะ และหนึ่งในนั้นก็คือ การมีอารมณ์ทางเพศนั่นเอง และด้วยเหตุนี้ อวัยวะเพศจึงเป็นหนึ่งในอวัยวะที่พวกชอบแสวงประโยชน์ทางเพศอยากที่จะสัมผัสหรือดูนัก เพื่อสนองอารมณ์ทางเพศของตนหรือบุคคลที่สาม ถ้าเด็ก ๆ ไม่รู้ว่าอวัยวะเหล่านี้ เป็นพื้นที่ส่วนตัวควรหวงแหน ไม่ให้ใครมามองหรือสัมผัส ก็อาจตกเป็นเหยื่อของคนพวกนี้ได้ (ทั้ง ๆ ที่ผู้ใหญ่นิสัยแบบนี้ไม่ควรจะมีอยู่ตั้งแต่แรกด้วยซ้ำ เฮ้อ) หรืออีกรูปแบบหนึ่งคือ พวกนี้จะอาศัยช่วงเปลี่ยนผ่านของน้อง ๆ ที่ตัวน้อง ๆ เองเริ่มมีอารมณ์ทางเพศ ขอให้น้อง ๆ ช่วยตัวเองให้ดูก็มีนะ นอกจากไม่ควรให้ใครจับก็ไม่ควรให้ใครดูด้วยเน้อ.แต่ต่อให้ไม่ใช่อวัยวะเพศ แต่เป็นจุดอื่นที่น้อง ๆ รู้สึกว่าถ้ามีคนมาสัมผัส(หรือดู)แล้วไม่สบายใจ ไม่ว่าจะเป็นหน้าอก แขน สะโพก ต้นขา หรืออะไรก็ตาม การมองหรือสัมผัสโดยที่น้อง ๆ ไม่ยินยอมก็นับเป็นการล่วงละเมิดได้เช่นกัน ถ้าหากมีใครทำแบบนี้กับน้อง ๆ ไม่ต้องกลัวที่จะบอกคนที่ไว้ใจนะ หรือจะบอกกับพี่สายเด็กก็ได้ โทรมาที่สายด่วน 1387 หรือทักแชทมาได้เลยจ้า.#สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #SUFASEC# #เพศศึกษา# #SexEdForTeens# #เรื่องเพศไม่ใช่เรื่องน่าอาย# #ปรึกษาเรื่องเพศ# #ละเมิดต้องแจ้ง#

展開更多

โรงเรียนของใครมีสอนวิชาเพศศึกษากันบ้างคะ ยกมือให้พี่สายเด็กดูหน่อย✋.พี่สายเด็กเห็นว่าหลาย ๆ โรงเรียนเริ่มมีการสอนเพศศึกษาบ้างแล้ว แต่น่าเสียดาย ที่ในหลาย ๆ ชุมชน เรื่องเพศยังเป็นเรื่องที่นับว่าน่าอับอายและยังไม่ควรที่จะพูดถึงจนกว่าจะโตเป็นผู้ใหญ่ แต่กว่าจะถึงตอนนั้น หลายครั้งมันก็สายเกินไปที่จะรู้ตัวว่ากำลังถูกแสวงประโยชน์ทางเพศน่ะสิ!.ก่อนจะไปถึงเรื่องการสอนเรื่องเพศศึกษา เราต้องมาทลายความเชื่อที่ว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องที่เด็กยังไม่ควรที่จะรู้เสียก่อน หลาย ๆ คนคิดว่า “เพศศึกษาต้องพูดแต่เรื่องการมีเพศสัมพันธ์แน่ ๆ เลย” ความจริงไม่ใช่นะคะ เพศศึกษาเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับร่างกายของเราบนพื้นฐานแห่งความเป็นเพศ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านกายภาพ อารมณ์ หรือแม้แต่วิถีทางเพศ พอเราเข้าใจถึงเรื่องพื้นฐานตรงนี้แล้ว เรื่องต่าง ๆ ที่ซับซ้อนขึ้นไปอีกอย่างเรื่องเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย หรือการแสวงประโยชน์ทางเพศ ก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้นค่ะ จะยกตัวอย่างง่าย ๆ ดังนี้นะคะ.ถ้าเรารู้จักร่างกายของตัวเองแล้ว เราจะรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของร่างกาย หวงแหนพื้นที่ส่วนตัว ซึ่งจะตามมาด้วยการรู้จักสิทธิในร่างกายของตนเอง เวลามีใครพยายามเข้าหาเราเพื่อแสวงประโยชน์ทางเพศ เราจะสังเกตได้ว่า “เอ๊ะ นี่มันไม่ใช่เรื่องปกติแล้ว” จะทำให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้นว่า ณ ขณะนั้น เราต้องปฏิเสธหรือขอความช่วยเหลือ เพื่อเป็นการปกป้องตนเองค่ะ (เดี๋ยวพี่สายเด็กจะมาพูดเรื่องพวกนี้อย่างละเอียดอีกครั้งในโพสต์ต่อ ๆ ไปนะคะ).โดยสรุปคือ “เพศศึกษา จะทำให้เราเข้าใจถึงร่างกายของเรา อารมณ์ของเรา การเปลี่ยนแปลง วิถีทางเพศของเรา นำมาสู่การเข้าใจสิทธิของเรา” นั่นเอง ซึ่งการเข้าใจสิทธิในร่างกายของเราเนี่ย สำคัญม้ากมาก พี่สายเด็กขอบอกน้อง ๆ ไว้ตรงนี้เลยนะคะว่า “ร่างกายเป็นของเรา คนอื่นไม่มีสิทธิในร่างกายของเรา” เพราะงั้นถ้ามีใครทำให้รู้สึกไม่สบายใจ พูดว่า “ไม่” หนีออกมา ขอความช่วยเหลือได้เสมอนะคะ ด้วยความห่วงใยจากพี่สายเด็กน้า.#สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #SUFASEC# #เพศศึกษา# #SexEdForTeens# #เรื่องเพศไม่ใช่เรื่องน่าอาย# #ปรึกษาเรื่องเพศ# #ละเมิดต้องแจ้ง#

展開更多

เด็กทุกคนล้วนมีความฝัน แต่สำหรับเด็กชายขอบและเด็กเร่ร่อน การถูกสังคมตีตราและดูถูกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้พวกเขาขาดความมั่นใจและไม่กล้าที่จะฝัน."ผมเคยอยากเป็นหมอ แต่ตอนนี้ไม่กล้าฝันแล้วครับ คนมักมองว่าเด็กอย่างผมคงทำอะไรดีๆ ไม่ได้" เสียงสะท้อนจากน้องแดง(นามสมมติ) เด็กชายวัย 14 ปี ที่ใช้ชีวิตอยู่บนท้องถนน.การถูกตีตราทำให้เด็กหลายคนมองตัวเองเป็นปัญหาของสังคม ทั้งที่พวกเขาไม่ได้ทำอะไรผิด เด็กเหล่านี้เพียงแค่เกิดมาในสภาพแวดล้อมที่ยากลำบาก แต่กลับต้องแบกรับความรู้สึกผิดและความอับอายโดยไม่จำเป็น."หนูไม่ได้อยากเป็นแบบนี้ หนูก็อยากเรียนหนังสือ มีอนาคตที่ดีเหมือนเด็กคนอื่นๆ" น้องฝน(นามสมมติ) เด็กสาววัย 16 ปี ที่ต้องออกจากโรงเรียนกลางคันเพื่อมาทำงานเลี้ยงครอบครัว กล่าวด้วยน้ำตาคลอ.เราทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ ด้วยการเปิดใจ รับฟัง และให้โอกาสเด็กเหล่านี้ได้แสดงศักยภาพ อย่าด่วนตัดสินพวกเขาจากภาพลักษณ์ภายนอก เพราะทุกคนล้วนมีความฝันและพลังที่จะเติบโตเป็นคนดีของสังคมได้.มาร่วมกันสร้างสังคมที่เปิดกว้างและให้โอกาส เพื่อให้เด็กทุกคนกล้าที่จะฝัน และมีพลังที่จะก้าวไปสู่ความฝันนั้น เพราะฝันของเด็กทุกคนล้วนมีค่า และไม่ควรถูกทำลายด้วยคำพูดหรือการกระทำของใคร.Every child has dreams. But for marginalized and homeless children, constant judgment and discrimination from society chip away at their confidence—until they’re too afraid to dream at all.."I used to want to be a doctor... but now I don’t dare to dream anymore. People always think kids like me can’t do anything good," shared Daeng (name changed), a 14-year-old boy living on the streets.Stigma makes many children see themselves as a burden on society, even though they’ve done nothing wrong. These children were simply born into difficult circumstances, yet they are forced to carry shame and guilt that should never have been theirs."I never wanted my life to be like this. I want to study and have a good future like other kids,"said Fon (name changed), a 16-year-old girl who had to leave school early to work and support her family, tears filling her eyes..We all have the power to create change. By opening our hearts, listening, and giving these children the chance to show their true potential, we can break down the walls of prejudice..Don’t judge them by appearances or their circumstances. Every child has dreams and the strength to grow into someone who contributes to society..Let’s work together to build a society that is open and full of opportunity—where every child feels free to dream and has the support to chase those dreams..Because the dreams of children are precious.And no words or actions should ever be allowed to destroy them..แหล่งอ้างอิง.#สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #เด็กเร่ร่อน# #เด็กบนท้องถนน# #เด็กชายขอบ# #ให้โอกาส# #ส่งต่อพลังใจ# #เปลี่ยนมุมมองสังคม# #VWEF#

展開更多

"ผมเคยคิดว่าการเริ่มต้นชีวิตใหม่เป็นเรื่องง่าย แค่ตั้งใจทำงาน แต่ความจริงคือ... ทุกครั้งที่ผมยื่นใบสมัคร สายตาที่มองกลับมามันบอกทุกอย่าง เมื่อเขารู้ว่าผมเคยมีประวัติ".เด็กและเยาวชนชายขอบจำนวนมากต้องเผชิญกับกำแพงที่มองไม่เห็นเมื่อก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงาน ไม่ใช่เพราะพวกเขาขาดความสามารถ แต่เพราะสังคมยังติดอยู่กับอดีตหรืออคติที่ผูกติดพวกเขาไว้.การสมัครงานครั้งแรกสำหรับใครหลายคนอาจเป็นเพียงความประหม่า แต่สำหรับเด็กชายขอบ มันคือการเผชิญหน้ากับอคติที่มองไม่เห็น เมื่อแบบฟอร์มต้องการประวัติการศึกษาที่ต่อเนื่อง เอกสารที่ครบถ้วน หรือที่อยู่ถาวร สิ่งเหล่านี้กลายเป็นอุปสรรคชั้นแรกที่พวกเขาต้องเผชิญ."ช่วงชีวิตที่หายไป" ในประวัติการศึกษาหรือการทำงาน กลายเป็นคำถามที่ตอบยาก เมื่อความจริงคือพวกเขาอาจกำลังพยายามเอาตัวรอดบนท้องถนน หรืออยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย.เมื่อภาพจำกลายเป็นโซ่ตรวน"เด็กเกเร" "เด็กมีปัญหา" "เคยติดคดี" คำเหล่านี้ไม่ได้บอกอะไรเกี่ยวกับตัวตนที่แท้จริง ความฝัน หรือศักยภาพของพวกเขา แต่กลับกลายเป็นตราบาปที่ติดตัวไปทุกที่.นายจ้างหลายคนปฏิเสธโดยอัตโนมัติเมื่อรู้ว่าผู้สมัครเคยมีประวัติผิดพลาดในอดีต โดยไม่ได้มองว่าหลายคนได้ผ่านการเรียนรู้ พัฒนาตัวเอง และพร้อมจะเริ่มต้นใหม่ด้วยความมุ่งมั่น.ทุกคนสมควรได้รับโอกาสครั้งที่สองการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นจากเรา จากมุมมองที่เรามีต่อกันและกัน เด็กและเยาวชนเหล่านี้ไม่ได้ต้องการความสงสาร แต่ต้องการโอกาสที่เท่าเทียม โอกาสที่จะพิสูจน์ตัวเอง.หากเราเชื่อว่าทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เราก็ควรให้พื้นที่สำหรับการเริ่มต้นใหม่ เพราะบางครั้ง โอกาสเพียงครั้งเดียวอาจเปลี่ยนชีวิตใครสักคนได้ทั้งชีวิต."I used to think starting over would be easy—just work hard. But the truth is... every time I hand in a job application, the look they give me says it all—once they find out about my past.".Many marginalized youth face invisible barriers when entering the job market.It’s not because they lack talent or skills, but because society is still stuck on their past and the prejudices attached to them..For most people, applying for their first job might just come with a bit of nervousness. But for marginalized youth, it means facing unseen biases.When the application asks for continuous education history, complete documentation, or a permanent address, these become the first obstacles standing in their way..The “missing years” in their education or work history often come with difficult explanations. The truth is, they may have been struggling to survive on the streetsor caught up in legal processes beyond their control.When stereotypes become chains.“Troublemaker.”“Problem child.”“Criminal record.”.These labels say nothing about who they really are, their dreams, or their true potential. But they become invisible scars that follow them everywhere..Many employers automatically reject candidates with troubled pasts, without recognizing how far these young people have come— the lessons they’ve learned, the work they’ve done on themselves, and the determination they have to start fresh..Everyone deserves a second chance. Change starts with us—with the way we see and treat one another. These youth aren’t asking for pity. They’re asking for equal opportunity—the chance to prove themselves..If we truly believe people can change, then we must create space for new beginnings. Because sometimes, just one opportunity is enough to change someone’s life forever..#สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #เด็กเร่ร่อน# #เด็กบนท้องถนน# #เด็กชายขอบ# #ให้โอกาส# #ส่งต่อพลังใจ# #เปลี่ยนมุมมองสังคม# #VWEF#

展開更多

ในสังคมเมืองที่เจริญก้าวหน้า ยังคงมีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับความท้าทายในการเข้าถึงการศึกษา เด็กบนท้องถนนและเด็กชายขอบสังคมเมืองมักถูกกันออกจากระบบโรงเรียน ไม่ใช่เพราะขาดความสามารถ แต่เพราะโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจที่ทำให้พวกเขาไม่มีโอกาส แม้ว่าไทยจะมีนโยบายเรียนฟรี แต่ในความเป็นจริง ค่าชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน ค่าเดินทาง และภาระของครอบครัว กลับเป็นกำแพงที่ผลักให้พวกเขาออกห่างจากห้องเรียน ที่สำคัญคือ เนื้อหาที่ใช้สอนในโรงเรียนทั่วไป อาจไม่เหมาะกับเด็กที่มีพื้นฐานการศึกษาน้อยหรือขาดช่วง พวกเขาต้องการหลักสูตรที่สามารถปรับให้เข้ากับบริบทชีวิต และช่วยให้พวกเขาสามารถนำไปใช้จริงได้.หลายองค์กรพยายามดึงเด็กเหล่านี้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา เช่น มูลนิธิสร้างโอกาสเด็ก มูลนิธิสายเด็ก 1387 และโครงการศึกษาทางเลือกของภาครัฐ แต่ปัญหาที่ยังแก้ไม่ตกคือ บุคลากรทางการศึกษาที่มีจำนวนน้อยเกินไป ส่งผลต่อคุณภาพการเรียนรู้ เด็กที่กลับเข้าสู่ระบบมักต้องเริ่มต้นจากศูนย์ บางคนแม้โตแล้วก็ยังอ่านเขียนไม่ได้เทียบเท่ากับเด็กในระบบ นี่สะท้อนว่าการศึกษาไม่ได้ถูกออกแบบให้รองรับเด็กที่ขาดโอกาสจริง ๆ แต่กลับใช้มาตรฐานเดียวกับเด็กทั่วไป ทำให้การเรียนรู้ของพวกเขายากขึ้น.ภาครัฐมีมาตรการลดการหลุดออกจากระบบการศึกษา เช่น "การศึกษาขั้นพื้นฐานถ้วนหน้า" และแนวคิด Zero Dropout แต่ปัญหายังอยู่ที่การนำไปปฏิบัติจริง แม้รัฐจะมีโครงการช่วยเหลือ แต่ก็ยังมีเด็กจำนวนมากที่ไม่ได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พวกเขาหลุดออกจากระบบซ้ำแล้วซ้ำเล่า การแก้ไขปัญหานี้ต้องการมากกว่านโยบายที่สวยหรู แต่ต้องเป็นการสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพจริง ตั้งแต่การช่วยเหลือครอบครัว ไปจนถึงการพัฒนาหลักสูตรที่ยืดหยุ่น.คำถามสำคัญคือ Zero Dropout ทำได้จริงหรือไม่? ในปัจจุบัน ยังไม่มีตัวเลขที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม แม้จะมีความพยายามเดินหน้าในหลายโครงการ แต่การทำให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ยังเป็นเป้าหมายที่ต้องต่อสู้ต่อไป สิ่งสำคัญคือ การศึกษาต้องปรับให้เข้ากับเด็ก ไม่ใช่ให้เด็กต้องปรับเข้ากับระบบ การเปลี่ยนแปลงนี้อาจใช้เวลา แต่ถ้าเริ่มทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เด็กบนท้องถนนและเด็กชายขอบสังคมเมืองจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังอีกต่อไป.Education for Everyone—or Just for Some?In rapidly developing cities, many children still face serious challenges accessing education. Street children and marginalized youth are often left out of the school system—not because they lack ability, but because social and economic structures block their opportunities..Although Thailand has a free education policy, the reality is different. Uniform costs, school supplies, transportation, and family responsibilities become barriers that push these children away from the classroom. More importantly, standard school curricula often don’t fit the needs of children with limited or interrupted education. These kids need flexible learning programs tailored to their real-life context and practical skills they can actually use..Many organizations, such as The Foundation for Child Opportunity, Sai Dek 1387 Foundation, and government alternative education projects, work to bring these children back to learning. However, the lack of educational personnel remains a major problem. Kids who re-enter the system often have to start from zero. Some, even as teenagers, still struggle with basic reading and writing skills. This shows that education systems are not truly designed to support children who have been left behind, as they still apply the same standards used for typical students—making learning even harder for these kids..The government has policies aimed at reducing school dropout rates, such as Universal Basic Education and Zero Dropout. But the real challenge lies in implementation. Despite these programs, many children are not consistently followed up with, causing them to fall out of the system again and again. Solving this problem takes more than good policy—it requires real, effective support, from helping families meet basic needs to developing flexible, adaptive curriculum..So, the question is: Is Zero Dropout really possible? For now, there is no clear data showing its success. While progress is being made, ensuring all children have access to quality education remains an ongoing fight..What matters most is this: education should adapt to fit the child—not force the child to fit the system. Real change will take time. But with commitment and consistent action, street children and marginalized youth won’t be left behind anymore..#สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #เด็กเร่ร่อน# #เด็กบนท้องถนน# #เด็กชายขอบ# #ให้โอกาส# #ส่งต่อพลังใจ# #เปลี่ยนมุมมองสังคม# #VWEF# #ยุติการเลือกปฏิบัติ# #การศึกษา# #ZeroDropout# #เรียนฟรี#

展開更多

✨ เมื่อความเชื่อ ปะทะ ความจริง ✨ความเชื่อ: "แต่งงานเร็วช่วยแก้จนได้"ความจริง: การแต่งงานเด็กไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาความยากจน แต่กลับทำให้ปัญหานั้นวนลูปไม่สิ้นสุด! ข้อมูลจาก Girls Not Brides ระบุว่า เด็กผู้หญิงในครอบครัวยากจนมีโอกาสถูกบังคับแต่งงานก่อนอายุ 18 ปีถึง 29% ขณะที่ครอบครัวร่ำรวยมีเพียง 6% เท่านั้น และส่วนใหญ่ต้องหลุดจากระบบการศึกษา ทำให้ไม่มีโอกาสสร้างรายได้ในอนาคต (Girls Not Brides, 2020).การศึกษาเป็นแสงสว่างที่แท้จริง!รู้ไหมว่า? การศึกษาช่วยลดโอกาสการแต่งงานก่อนวัยได้ถึง 5-6% ต่อปีที่เรียนเพิ่มขึ้น (UNICEF, 2017)เพราะการศึกษาทำให้เรามีความรู้ มีทักษะ และมีโอกาสสร้างชีวิตที่ดีขึ้นด้วยตัวเองลองจินตนาการดูสิ...💡 ถ้าน้อง ๆ ได้เรียนต่อจนจบมหาวิทยาลัย น้องจะมีโอกาสทำงานในสายอาชีพที่ตัวเองฝันไว้💡 ถ้าน้อง ๆ ได้เรียนรู้เรื่องสิทธิของตัวเอง น้องจะกล้าปฏิเสธการแต่งงานที่ไม่พร้อม💡 ถ้าน้อง ๆ ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและสังคม น้องจะเป็นคนหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงโลกนี้ได้.อย่าให้ใครมาตัดสินชีวิตเรา!ถ้าถูกบังคับหรือเห็นเพื่อนถูกกดดัน โทรหา 1387 สายด่วนช่วยเหลือเด็ก.แชร์โพสต์นี้เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจใหม่ในสังคมจำไว้ว่า: การแต่งงานไม่ใช่คำตอบของความมั่นคง แต่การศึกษาและความรู้ต่างหากที่เป็นกุญแจสำคัญ! น้องๆ มีสิทธิเลือกอนาคตของตัวเอง และพี่ๆ พร้อมอยู่เคียงข้างเสมอ 💕.#สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #SUFASEC# #กรูมมิ่ง# #การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ# #มู่อยากรู้เบ้อยากเล่า# #TikTokUni# #สิทธิของหนู# #พูดมาเหอะ# #ล่วงละเมิดต้องแจ้ง# #สิทธิเด็ก# #บังคับแต่งงานเด็ก# #ChildMarriage# #แต่งงานเด็ก#

展開更多

“กักขัง” ไม่ใช่คำตอบ – เด็กควรได้รับโอกาส ไม่ใช่กรงขังการกักขังเด็กไม่ควรเป็นทางเลือกแรก หรือเป็น "ทางเลือกสุดท้าย" ด้วยซ้ำ เด็กบนท้องถนนและเด็กชายขอบสังคมเมืองมักตกอยู่ในวังวนของปัญหา ไม่ใช่เพราะพวกเขาเลือกเดินทางผิด แต่เพราะพวกเขาไม่มีทางเลือกมากพอ การนำพวกเขาเข้าสู่ระบบกักขัง ไม่เพียงแต่ทำลายโอกาสในการศึกษาและพัฒนาตนเอง แต่ยังสร้างบาดแผลทางจิตใจที่ยากจะลบเลือน พวกเขาถูกตราหน้าและถูกผลักให้ออกจากสังคม มากกว่าที่จะได้รับโอกาสในการปรับปรุงตัว.ภาครัฐมีมาตรการรองรับเด็กที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอยู่บ้าง เช่น การจัดตั้งสถานพินิจเยาวชนในบางพื้นที่ แต่ระบบเหล่านี้ยังขาดความครอบคลุม และไม่สามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้ รัฐยังคงให้ความสำคัญกับการควบคุมตัวเด็ก มากกว่าการฟื้นฟูและให้อีกทางเลือกในการใช้ชีวิต เด็กที่พ้นโทษออกมายังคงเผชิญกับอคติและโอกาสที่ถูกปิดกั้น ซึ่งผลักพวกเขากลับไปสู่วงจรเดิมของความรุนแรงและความเสี่ยง.สิ่งที่รัฐยังละเลยคือการขยายมาตรการทางเลือกแทนการกักขังให้ครอบคลุมมากขึ้น รวมถึงการลดระยะเวลาการกักขังเด็กให้น้อยที่สุด เด็กไม่ควรถูกขังเป็นเวลานานโดยไม่มีโอกาสแก้ตัว การพัฒนาโครงการฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพ เช่น การแนะแนวอาชีพ การช่วยเหลือทางจิตใจ และการสนับสนุนทางสังคม จะช่วยให้เด็กสามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี.การกักขังเด็กไม่ใช่จุดสิ้นสุดของปัญหา แต่มันคือจุดเริ่มต้นของความเหลื่อมล้ำที่ลึกขึ้น ทางออกที่แท้จริงคือการให้โอกาส ไม่ใช่โทษทัณฑ์ เราต้องเลือกว่าจะขังพวกเขาไว้กับอดีต หรือจะเปิดโอกาสให้พวกเขาเดินไปสู่อนาคตที่ดีกว่า.The detention of children should not be the first option—or even the last resort. Street children and marginalized youth often find themselves trapped in cycles of hardship, not because they chose the wrong path, but because they lack sufficient choices. Placing them in detention systems not only strips them of opportunities for education and self-development but also inflicts deep psychological scars that are difficult to heal. They are stigmatized and pushed further to the margins of society, rather than being given the chance to rehabilitate and reintegrate..The government has implemented some measures for children in the justice system, such as establishing juvenile detention centers in certain areas. However, these systems remain inadequate and fail to address the root causes of the problem. The state continues to prioritize child detention over rehabilitation and alternative solutions. Once released, these children still face prejudice and limited opportunities, which often push them back into the same cycle of violence and risk..What the government has overlooked is the need to expand alternative measures to detention and minimize the time children spend in custody. Children should not be incarcerated for long periods without the chance to correct their mistakes. Developing effective rehabilitation programs, such as vocational training, psychological support, and social assistance, would enable them to reintegrate into society with dignity..Detaining children is not the end of the problem; it is the beginning of deeper inequality. The real solution lies in providing opportunities, not punishment. We must decide whether to lock them in their past or open doors for them to walk toward a better future..#สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #เด็กเร่ร่อน# #เด็กบนท้องถนน# #เด็กชายขอบ# #ให้โอกาส# #ส่งต่อพลังใจ# #เปลี่ยนมุมมองสังคม# #VWEF# #ยุติการเลือกปฏิบัติ# #ยุติโทษที่รุนแรงต่อเด็ก#

展開更多

เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวเกี่ยวกับเด็กที่ก่อเหตุอาชญากรรมจนกลายเป็นประเด็นถกเถียงในสังคมว่า เด็กควรรับโทษเทียบเท่าผู้ใหญ่หรือไม่? บางคนเชื่อว่า “ความผิดก็คือความผิด” แต่ในขณะเดียวกันก็มีเสียงสะท้อนว่า การลงโทษอย่างรุนแรงกับเด็กอาจไม่ใช่คำตอบ.ในหลายประเทศทั่วโลก กำหนดอายุขั้นต่ำของการรับผิดชอบทางอาญาไว้ที่ 15 ปี เพราะเด็กในช่วงวัยนี้ยังไม่เจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างเต็มที่ วุฒิภาวะและความสามารถในการตัดสินใจยังไม่สมบูรณ์ การกระทำที่ผิดพลาดของเด็กส่วนใหญ่มักเกิดจากสภาพแวดล้อมที่เขาเติบโตมา ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่ขาดการดูแล หรือชุมชนที่เต็มไปด้วยปัจจัยเสี่ยง การลงโทษจึงอาจไม่ช่วยแก้ไขพฤติกรรม แต่กลับเพิ่มปัญหาในระยะยาว การให้โอกาสพวกเขาเรียนรู้และปรับตัวจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า.ในประเทศไทย ประมวลกฎหมายอาญากำหนดอายุขั้นต่ำในการรับผิดชอบทางอาญาไว้ที่ 10 ปี เด็กที่อายุต่ำกว่านี้ แม้การกระทำของพวกเขาจะนับเป็น “ความผิด” แต่กฎหมายไม่เอาโทษใด ๆ และสำหรับเด็กอายุ 10-15 ปี หรือ 15-18 ปี ศาลจะใช้มาตรการพิเศษ เช่น การว่ากล่าวตักเตือน การคุมประพฤติ หรือการส่งเข้าสถานฝึกอบรมแทนการลงโทษ.อย่างไรก็ตาม อายุขั้นต่ำที่ 10 ปี ยังคงต่ำเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล องค์การสหประชาชาติได้แนะนำในข้อเสนอแนะทั่วไป ฉบับที่ 24 ว่าอายุขั้นต่ำควรอยู่ที่ 12 ปีเป็นอย่างน้อย และควรพิจารณาเพิ่มให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก ประเทศไทยจึงควรผลักดันให้เพิ่มอายุขั้นต่ำจาก 12 ปี เป็น 14 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานนี้.เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ พวกเขายังอยู่ในช่วงวัยที่ขาดวุฒิภาวะและความรู้สึกผิดชอบชั่วดี การกระทำที่ผิดพลาดอาจเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมหรือการเลี้ยงดูมากกว่าความตั้งใจของเด็กเอง การลงโทษเพียงเพื่อความสะใจของสังคมอาจไม่สร้างประโยชน์อะไร แต่หากเรามุ่งเน้นการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผ่านการเรียนรู้ เด็กเหล่านี้จะมีโอกาสเติบโตเป็นพลเมืองที่ดี.การเพิ่มอายุขั้นต่ำไม่ใช่แค่การปรับปรุงกฎหมาย แต่เป็นการยืนยันว่าเด็กทุกคนควรได้รับโอกาสที่ยุติธรรมในการเรียนรู้และแก้ไขความผิดพลาด ชีวิตของพวกเขายังมีโอกาสอีกยาวไกล และหน้าที่ของสังคมคือการมอบโอกาสให้พวกเขากลับมายืนในเส้นทางที่ถูกต้องและเป็นกำลังสำคัญของสังคมในอนาคต.CR. .#สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #เด็กเร่ร่อน# #เด็กบนท้องถนน# #เด็กชายขอบ# #เด็กชายขอบสังคมเมือง# #ให้โอกาส# #ส่งต่อพลังใจ# #เปลี่ยนมุมมองสังคม# #VWEF#

展開更多

ในสังคมที่ทุกบริการของภาครัฐผูกโยงกับเอกสารสำคัญ เด็กบนท้องถนน และเด็กชายขอบในสังคมเมืองกลับต้องเผชิญกับอุปสรรคสำคัญ นั่นคือ การขาดใบเกิดและเอกสารยืนยันตัวตน ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนอาจมองข้าม แต่สำหรับเด็กเหล่านี้ มันคือประตูสู่สิทธิขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการเข้ารับการรักษาพยาบาล การเข้าเรียน หรือการเข้าถึงโอกาสที่เท่าเทียม.ขั้นตอนที่ซับซ้อนกับความหวังที่ริบหรี่แม้บริการของภาครัฐจะถูกออกแบบมาเพื่อคนทุกกลุ่ม แต่ในความเป็นจริง การเข้าถึงระบบเหล่านี้สำหรับเด็กไร้เอกสารกลับเต็มไปด้วยความยุ่งยาก การขอทำใบเกิดย้อนหลังหรือการออกเอกสารใหม่ต้องติดต่อหน่วยงานหลายฝ่าย ทั้งยังต้องใช้เวลาและข้อมูลยืนยันมากมาย ซึ่งสำหรับเด็กบนท้องถนนที่ขาดทั้งผู้ดูแลและหลักฐานพื้นฐาน สิ่งเหล่านี้แทบจะเป็นไปไม่ได้.ความจำเป็นของใบเกิด: สิทธิเบื้องต้นที่ไม่ควรมองข้ามการไม่มีใบเกิดหรือบัตรประชาชนทำให้เด็กต้องถูกกีดกันออกจากสิ่งที่คนทั่วไปมองว่าเป็นเรื่องปกติ เช่น การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือการเข้าเรียนในโรงเรียนอย่างถูกต้องตามระบบ นอกจากนี้ เด็กกลุ่มนี้ยังเสี่ยงต่อการถูกมองข้ามและไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ซึ่งส่งผลกระทบต่ออนาคตของพวกเขาในระยะยาว.รัฐทำอะไรไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่เพียงพอปัจจุบันมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมกิจการเด็กและเยาวชน และองค์กรเอกชนที่พยายามช่วยเหลือเด็กไร้เอกสารผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น การรับแจ้งเกิดย้อนหลังและการสนับสนุนด้านกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ระบบยังมีช่องว่างใหญ่ เช่น การขาดความต่อเนื่องในการติดตามเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ หรือข้อจำกัดในงบประมาณและบุคลากรที่ลงพื้นที่จริง.สิ่งที่รัฐควรทำเพื่อโอกาสที่เท่าเทียมรัฐควรปรับปรุงระบบให้เป็นมิตรและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยพัฒนาช่องทางการให้บริการที่ยืดหยุ่น เช่น การลดเอกสารที่จำเป็น หรือการสร้างระบบเคลื่อนที่ที่ลงไปช่วยเหลือในพื้นที่ชายขอบ นอกจากนี้ ควรฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้เข้าใจถึงปัญหาเฉพาะของเด็กไร้เอกสาร เพื่อให้พวกเขาสามารถช่วยเหลือได้อย่างแท้จริง.บริการของรัฐเป็นมิตรจริงหรือ?ในขณะที่ผู้ใหญ่เองยังมองว่าระบบราชการเป็นเรื่องซับซ้อน แล้วสำหรับเด็กบนท้องถนนที่ไร้ทั้งผู้สนับสนุนและความรู้เรื่องระบบต่าง ๆ ล่ะ? การเข้าถึงโอกาสที่เท่าเทียมยังคงเป็นความท้าทาย เด็กเหล่านี้ต้องการระบบที่พร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างแท้จริง ไม่ใช่ระบบที่เต็มไปด้วยอุปสรรคและความล่าช้า.ขาดเอกสาร = ขาดอนาคตเด็กที่ไร้เอกสารไม่ได้สูญเสียเพียงกระดาษแผ่นเดียว แต่พวกเขาสูญเสียอนาคต โอกาสที่จะได้เรียน ได้รับการรักษาพยาบาล และสิทธิที่ควรมีในฐานะพลเมือง เราทุกคนในสังคมมีบทบาทในการผลักดันให้เด็กทุกคนสามารถเข้าถึงสิทธิของพวกเขาอย่างเท่าเทียม เพราะเด็กทุกคนสมควรได้รับโอกาสที่จะสร้างชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเกิดมาในสถานการณ์ใดก็ตาม.#สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #เด็กเร่ร่อน# #เด็กบนท้องถนน# #เด็กชายขอบ# #ให้โอกาส# #ส่งต่อพลังใจ# #เปลี่ยนมุมมองสังคม# #VWEF# #ยุติการเลือกปฏิบัติ#

展開更多

ทุกคนควรได้เรียน เพราะการศึกษาคือสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใคร มาจากไหน.น้องๆ รู้มั้ย? การศึกษาไม่ใช่แค่เรื่องของการได้เรียนหนังสือ แต่มันคือสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กทุกคนควรได้รับ โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานะทางสังคม.- รัฐธรรมนูญ มาตรา 54 บอกชัดว่า รัฐต้องจัดการศึกษาฟรี 12 ปี ให้เด็กทุกคนตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ- พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติยังกำหนดให้ทุกคนมีสิทธิและโอกาสเท่าเทียมกันในการรับการศึกษา โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย- สำคัญมากๆ! กฎหมายยังห้ามการเลือกปฏิบัติด้วยนะ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก มาตรา 22 บอกว่า ต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ และห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม.แต่ความเป็นจริง ยังมีเด็กอีกมากที่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้ โดยเฉพาะเด็กเร่ร่อนและเด็กชายขอบในเมือง ด้วยอุปสรรคมากมาย.เพราะทุกคนมีสิทธิที่จะฝัน มีสิทธิที่จะเรียนรู้ และมีสิทธิที่จะพัฒนาตัวเองอย่างเท่าเทียม.Everyone deserves to learn, because education is a fundamental right of every child, no matter who they are or where they come from..Did you know? Education is not just about going to school, but it is a basic human right that every child should receive, without limitations due to social status..The Constitution, Section 54, clearly states that the state must provide 12 years of free education to all children from pre-school to the end of compulsory education..The National Education Act also stipulates that everyone has equal rights and opportunities to receive education, free of charge..Very important! The law also prohibits discrimination. The Child Protection Act, Section 22, states that the best interests of the child must be taken into account and that unfair discrimination is prohibited..But the reality is that there are still many children who cannot access education, especially street children and children in conflict with the law, due to many obstacles..Because everyone has the right to dream, the right to learn, and the right to develop themselves equally..#สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #เด็กเร่ร่อน# #เด็กชายขอบ# #ให้โอกาส# #VWEF# #การศึกษา# #เรียนฟรี#

展開更多

ในประเทศไทยมีเด็กกว่า 1.02 ล้านคน ที่หลุดออกจากระบบการศึกษา.เคยสงสัยกันมั้ยว่าทำไมเด็กถึงไม่ได้เรียนหนังสือ?.หลายคนอาจคิดว่าเด็กไม่อยากเรียน แต่ความจริงแล้ว พวกเขาต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย:.- ไม่มีบัตรประชาชนหรือเอกสารยืนยันตัวตน ทำให้ไม่สามารถสมัครเรียนได้- ต้องทำงานหาเลี้ยงครอบครัว- ระบบการศึกษาที่ไม่ยืดหยุ่นและไม่ตอบโจทย์ชีวิตของพวกเขา- ถูกตีตราและเลือกปฏิบัติจากสังคม.แต่รู้มั้ย? การศึกษาคือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้เด็กๆ มีอนาคตที่ดีขึ้น.เพราะการศึกษาไม่ใช่แค่การอ่านออกเขียนได้ แต่ยังช่วยให้พวกเขา:- มีทักษะและความรู้ในการประกอบอาชีพ- รู้เท่าทันและปกป้องตัวเองจากการถูกเอาเปรียบ- มีโอกาสสร้างชีวิตที่ดีกว่าเดิม.พี่เชื่อว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพ แค่รอโอกาสและการสนับสนุนที่เหมาะสม.มาร่วมกันสร้างสังคมที่เปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพกันนะคะเพราะการศึกษาคือสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กทุกคนควรได้รับไม่ว่าพวกเขาจะมาจากไหน หรือมีภูมิหลังอย่างไร.In Thailand, over 1.02 million children have dropped out of the education system..Ever wondered why some children don’t get to go to school?.Many might assume that children simply don’t want to study, but the truth is they face numerous challenges:.- No identification card or Identity documents, preventing them from enrolling in school.- Having to work to support their families.- An inflexible education system that doesn’t align with their lives.- Being stigmatized and discriminated against by society..But did you know? Education is the key to helping children build a better future..Education isn’t just about reading and writing; it empowers children to:- Gain skills and knowledge to pursue careers.- Be aware of their rights and protect themselves from exploitation.- Create better opportunities for a brighter life..I believe every child has potential—they just need the right opportunities and support..Let’s work together to build a society where every child can access quality education.Because education is a fundamental right that every child deserves, no matter where they come from or what their background is..แหล่งอ้างอิง.#สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #เด็กเร่ร่อน# #เด็กบนท้องถนน# #เด็กชายขอบ# #ให้โอกาส# #ส่งต่อพลังใจ# #เปลี่ยนมุมมองสังคม# #VWEF# #ยุติการเลือกปฏิบัติ#

展開更多

คุณเคยเดินผ่านเด็กที่นั่งอยู่บนฟุตปาธข้างถนนแล้วนึกสงสัยไหมว่าพวกเขาเป็นใคร? เคยคิดไหมว่าพวกเขาอาจไม่มีโอกาสเหมือนเด็กคนอื่นเพียงเพราะเกิดมาในสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวย? ไม่สำคัญว่าเราจะเรียกพวกเขาว่าอะไร เด็กชายขอบสังคมเมือง เด็กนอกระบบ เด็กไร้บ้าน เด็กเร่ร่อน หรือเด็กด้อยโอกาส สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราปฏิบัติต่อพวกเขายังไง? .น่าเศร้าที่ในสังคมไทยยังคงมีการเลือกปฏิบัติต่อเด็กชายขอบสังคมเมืองและเด็กบนท้องถนน พวกเขาถูกมองด้วยสายตาที่แตกต่าง ถูกตีตรา และถูกกีดกันออกจากโอกาสต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น เด็กชายขอบบางคนถูกปฏิเสธการเข้าโรงเรียนเพราะไม่มีเอกสารยืนยันตัวตน หรือถูกมองว่า "ไม่เหมาะสม" ในการเรียนร่วมกับเด็กคนอื่น บางคนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจมองด้วยความระแวงสงสัย ถูกเลือกปฏิบัติ จนไม่กล้าแม้แต่จะขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ เมื่อประสบปัญหา หรือถูกทำร้ายร่างกาย .เด็กเหล่านี้รู้สึกถูกทอดทิ้ง มองตัวเองเป็นคนนอก ไม่กล้าที่จะฝันหรือมองหาชีวิตที่ดีกว่า เพราะถูกตีตราอยู่เสมอ เด็กเหล่านี้เคยเลือกที่จะเกิดได้ไหม? แล้วทำไมพวกเขาต้องถูกเลือกปฏิบัติเพียงเพราะต้นทุนชีวิตของพวกเขาต่างจากคนอื่น? .ปัญหาที่สำคัญคือการเข้าไม่ถึงระบบของรัฐ เด็กบนท้องถนนมักไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา การรักษาพยาบาล และโอกาสในการทำงาน เพราะขาดเอกสาร หรือมีประวัติที่ทำให้สังคมมองพวกเขาอย่างไม่เป็นธรรม ระบบของรัฐควรจะถูกออกแบบมาเพื่อเข้าถึงทุกคน ไม่ใช่เพียงแค่กลุ่มคนที่มี "สิทธิ" ในระบบเท่านั้น .จริงอยู่ที่ภาครัฐได้มีโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ เหล่านี้ เช่น โครงการเรียนทางไกล การศึกษานอกระบบ หรือคลินิกเคลื่อนที่ รวมถึงการทำงานร่วมกับ NGOs แต่บางโครงการก็ยังขาดความต่อเนื่อง มีทรัพยากรไม่เพียงพอ หรือไม่ตอบโจทย์ความต้องการของเด็กเหล่านี้ ที่สำคัญคือบริการที่เป็นมิตรต่อเด็ก ๆ เหล่านี้ เช่นการปฏิบัติตัวต่อเด็กของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ หรือการทำงานที่ซับซ้อนของระบบภาครัฐเราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง อยากเห็นนโยบายที่ยืดหยุ่น ที่เปิดโอกาสให้เด็ก ๆ สามารถเข้าเรียนที่ตอบโจทย์ และเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ และการบริการที่เป็นมิตรของภาครัฐ อยากเห็นการรณรงค์เพื่อลดการตีตรา และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กบนท้องถนน และเด็กชายขอบในสังคม และอยากเห็น "พื้นที่ปลอดภัย" ที่เด็ก ๆ เหล่านี้ จะได้รับโอกาสในการเรียนรู้ และพัฒนาตัวเอง โดยไม่ถูกมองข้ามเด็กบนท้องถนนและเด็กชายขอบ ไม่ใช่ปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่เราทุกคนต้องร่วมมือกัน เพื่อมอบโอกาส และช่วยให้พวกเขามีชีวิตที่ดีขึ้น.#สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #เด็กเร่ร่อน# #เด็กบนท้องถนน# #เด็กชายขอบ# #ให้โอกาส# #ส่งต่อพลังใจ# #เปลี่ยนมุมมองสังคม# #VWEF# #ยุติการเลือกปฏิบัติ#

展開更多

เคยสงสัยไหม? ทำไมการค้าประเวณีเด็กถึงเป็นอาชญากรรมร้ายแรง ทำไมสังคมต้องช่วยกันยุติปัญหานี้ให้ได้ วันนี้เรามาทำความเข้าใจไปด้วยกัน.- วัยรุ่นเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาสมอง- ความเครียดและบาดแผลทางใจส่งผลต่อพัฒนาการ- การถูกกดดันและบังคับส่งผลต่อการตัดสินใจในอนาคต- สิทธิขั้นพื้นฐานถูกละเมิด ไม่ว่าจะการศึกษา การเลือกอนาคตของตัวเอง สิทธิที่จะเติบโตอย่างปลอดภัยและมีความสุข สิทธิในการปกป้องร่างกายและจิตใจของตัวเอง.ผลกระทบที่ซ่อนอยู่1. บาดแผลทางจิตใจ- ความเครียดเรื้อรัง นอนไม่หลับ- ความรู้สึกไร้ค่า หมดหวัง- ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล- ความทรงจำที่เจ็บปวดตามหลอกหลอน.2. ผลกระทบต่อการเรียน- ขาดสมาธิในการเรียน- ผลการเรียนตกต่ำ- เสี่ยงต่อการออกจากการศึกษากลางคัน- สูญเสียโอกาสในการพัฒนาตัวเอง.3. ปัญหาความสัมพันธ์- ความไว้วางใจผู้อื่นลดลง- การสร้างความสัมพันธ์ใหม่ทำได้ยาก- ความรู้สึกแปลกแยกจากสังคม.ความจริงที่อยากให้ทุกคนเข้าใจ1. เด็กที่ตกเป็นเหยื่อ ไม่ใช่คนผิด- พวกเขาถูกหลอก ถูกบังคับ- ไม่มีทางเลือก ไม่มีอำนาจต่อรอง- ต้องการความเข้าใจ ไม่ใช่การตัดสิน.2. ทุกคนมีสิทธิได้รับโอกาสใหม่- การศึกษาคือประตูสู่อนาคต- มีหน่วยงานพร้อมช่วยเหลือ- สังคมต้องให้โอกาส ไม่ตีตรา.สิ่งที่เราทุกคนทำได้1. เรียนรู้และทำความเข้าใจ- ศึกษาปัญหาอย่างลึกซึ้ง- เข้าใจว่านี่คือการละเมิดสิทธิมนุษยชน- แชร์ความรู้กับคนรอบข้าง.2. ไม่เพิกเฉย- แจ้งเบาะแสเมื่อพบเห็น- ให้กำลังใจผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ- ร่วมรณรงค์ยุติปัญหา.ทุกชีวิตมีค่า ทุกคนมีสิทธิที่จะฝัน มีสิทธิที่จะเลือก และมีสิทธิที่จะเติบโตอย่างปลอดภัย.#สายเด็ก1387# #Saidek1387# #ChildlineThailand# #SUFASEC# #การแสวงหาประโยชน์ทางเพศกับเด็ก# #สิทธิของหนู# #พูดมาเหอะ# #ล่วงละเมิดต้องแจ้ง# #ChildGrooming# #ปกป้องเด็ก# #ยุติการแสวงหาประโยชน์ทางเพศเด็ก# #ยุติการค้าประเวณีเด็ก# #ยุติการค้าประเวณี#

展開更多

"มองให้ลึก...ถึงปัญหาที่ซ่อนอยู่ เมื่อเด็กชายขอบสังคมเมืองต้องเผชิญชะตากรรมที่คุณอาจไม่เคยรู้".หลายคนอาจมองว่าเด็กที่กระทำผิดกฎหมายคือ "เด็กเกเร" แต่เบื้องหลังพฤติกรรมเหล่านั้น มีเรื่องราวที่ซับซ้อนและน่าเศร้ากว่าที่คุณคิด.ปัญหาที่มองไม่เห็น เด็กชายขอบสังคมเมืองกว่า 70% มีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวล และกว่าครึ่งเคยมีความคิดฆ่าตัวตาย สาเหตุสำคัญมาจากการถูกตีตรา การถูกเลือกปฏิบัติ และความรุนแรงที่ต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน.การเข้าไม่ถึงบริการพื้นฐาน- ขาดโอกาสทางการศึกษาเพราะไม่มีเอกสารยืนยันตัวตน- ไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข- ถูกปฏิเสธการจ้างงานเพราะมีประวัติคดีติดตัว."เด็กดี ๆ คนหนึ่ง อาจกลายเป็นเด็กที่มีคดีติดตัวได้ เพียงเพราะความยากจนและปัญหาครอบครัวผลักดันให้พวกเขาต้องเดินบนเส้นทางผิดกฎหมาย".สาเหตุหลัก:- ความยากจน- ครอบครัวแตกแยก- การถูกทอดทิ้ง- ความรุนแรงในครอบครัว.การนำเด็กเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตั้งแต่อายุยังน้อย ไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดแต่การให้โอกาสและการสนับสนุนที่เหมาะสมต่างหากที่จะช่วยให้พวกเขากลับมายืนหยัดได้อีกครั้ง.เราทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง ด้วยการ:- เปิดใจยอมรับและไม่ตีตรา- สนับสนุนองค์กรที่ช่วยเหลือเด็กชายขอบ- สร้างความเข้าใจในสังคม."Look Deeper... Into the Hidden of Children in Conflict with the Law, You May Never Have Imagined".Many may label children who break the law as "troublemakers," but behind those actions lies a more complex and heartbreaking reality..The Unseen Problem Over 70% of children in conflict with the law suffer from depression or anxiety, and more than half have contemplated suicide. The main causes stem from stigmatization, discrimination, and daily violence they endure..Barriers to Basic Services- Lack of educational opportunities due to missing identity documents- Inability to access public healthcare services- Denied employment due to a criminal record."A good child can end up with a criminal record simply because poverty and family problems push them onto the wrong path.".Root Causes:- Poverty- Broken families- Neglect- Domestic violence.Bringing children into the justice system at a young age is not the best solution.Providing opportunities and appropriate support is what truly helps them stand back up..We can all be part of the change by:- Opening our hearts to accept and not stigmatize- Supporting organizations that help children in conflict with the law- Promoting understanding within society.#สายเด็ก1387# #Saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #วัยรุ่นร้อนอาชีพ# #wehavedreams2# #VWEF# #เส้นทางสู่ฝัน# #เด็กและเยาวชน# #แรงบันดาลใจ#

展開更多

"ก่อนจะตัดสิน: เบื้องหลังชีวิตที่คุณอาจไม่เคยรู้".ทำไมไม่กลับบ้านล่ะ?คำถามที่หลายคนอยากถามเด็กบนท้องถนนแต่รู้ไหม... บางครั้ง "บ้าน" คือสิ่งที่พวกเขากลัวที่สุด.เบื้องหลังชีวิตที่คุณเห็น:• บางคนหนีออกจากบ้านเพราะความรุนแรง• บางคนไม่มีบ้านให้กลับ เพราะครอบครัวแยกทาง.ความจริงที่น่าตกใจ:ในกรุงเทพฯ มีเด็กบนท้องถนนมากถึง 20,000 คนและตัวเลขนี้กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ.สิ่งที่พวกเขาต้องเผชิญทุกวัน:• ความหิวโหย• ความไม่ปลอดภัย• การถูกละเมิด.แต่รู้ไหม? พวกเขาไม่ได้เลือกเกิดและไม่ได้เลือกที่จะเป็นแบบนี้.ก่อนจะตัดสินใครสักคน ลองเปิดใจ และทำความเข้าใจ เพราะทุกชีวิตมีเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ และบางครั้ง การไม่ตัดสิน ก็คือการช่วยเหลือที่ดีที่สุด."Before You Judge: Behind the Scenes of Life You May Never Know".Why Don't You Go Home?A Question Many People Want to Ask Street ChildrenBut Did You Know... Sometimes "Home" Is What They Fear Most.Behind the Life You See:• Some Run Away from Home Because of Violence• Some Have No Home to Return to Because Their Families Have Separated.Shocking Truth:In Bangkok, There Are Up to 20,000 Street ChildrenAnd This Number Is On the Rise.What They Have to Face Every Day:• Hunger• Insecurity• Violation.But Did You Know? They Didn't Choose to Be Born and Didn't Choose to Be This Way.Before you judge someone, try to open your mind and understand because every life has a hidden story and sometimes, not judging is the best help.ขอบคุณข้อมูลจาก.#สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #เด็กเร่ร่อน# #เด็กชายขอบ# #ให้โอกาส# #ส่งต่อพลังใจ# #เปลี่ยนมุมมองสังคม# #VWEF# #ยุติการตีตรา#

展開更多

"ตีตรา = ปิดโอกาส: เมื่อคำพูดทำร้ายมากกว่าที่คิด""ผมไม่ใช่ขยะสังคม ผมแค่ไม่มีที่ไป..."เสียงสั่นเครือของเด็กคนหนึ่งที่สังคมมักตีตราว่าเป็นปัญหาคำว่า "เด็กเร่ร่อน" ไม่ได้แค่ตีตราแต่มันปิดประตูโอกาสในชีวิตของพวกเขาเมื่อสังคมตัดสินพวกเขาด้วยคำเพียงคำเดียว.เมื่อสังคมตัดสินพวกเขาด้วยอคติอาจทำให้:- โรงเรียนปฏิเสธการรับเข้าเรียน- นายจ้างไม่กล้าจ้างงาน- สังคมมองว่าเป็นภาระ.ความจริงที่หลายคนอาจไม่เคยรู้:เด็กบนท้องถนนส่วนใหญ่ถูกบีบให้ต้องออกมาใช้ชีวิตแบบนี้ด้วยความยากจน ปัญหาครอบครัวและการถูกผลักออกจากระบบการศึกษา.การตีตราทำให้พวกเขา:-ขาดความมั่นใจในตัวเอง-รู้สึกไร้ค่า-หมดหวังกับอนาคต.แต่ทุกคนมีศักยภาพและควรได้รับโอกาสเพียงแค่เราเปิดใจ และมองพวกเขาในฐานะเพื่อนมนุษย์"ให้โอกาสพวกเราได้เปลี่ยนแปลงชีวิตแค่เลิกตัดสินและเปิดใจ นั่นก็มากพอแล้ว"."Stigma = Lost Opportunities: When Words Hurt More Than You Think"."I’m not a burden to society; I just have nowhere to go..."These trembling words came from a child often labeled a "problem" by society..The term "street children" doesn’t just label them—it shuts the door to their future.When society judges them with a single word, paired with prejudice, it creates barriers that:.Prevent schools from accepting them.Discourage employers from hiring them.Leading society to view them as a burden.The Hidden Truth Few AcknowledgeMost street children didn’t choose this life.They were forced into it by:.Crushing poverty that steals their dreams.Broken families that leave them without support.Being pushed out of the education system.The Devastating Impact of StigmaWhen labeled and judged, these children suffer deeply:.Loss of self-confidence: They stop believing in themselves.Feelings of worthlessness: Society convinces them they have no value.Hopelessness: They can’t see a brighter future ahead.Every Child Has Potential and Deserves a ChanceEvery child carries untapped potential, waiting for an opportunity to shine.We don’t need to do much—just:.Stop judging them with prejudice.Open our hearts and see them as fellow human beings."Give us a chance to change our lives.Just stop judging and start understanding—that’s more than enough.".A society without stigma is a society that offers everyone a chance to thrive..#สายเด็ก1387# #Saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #วัยรุ่นร้อนอาชีพ# #wehavedreams2# #VWEF#

展開更多
© 2025 抖